• HEALTH REPORTS Edit

    Edit
  • Edit
  • โพรโพลิส : พฤกษศาสตร์ชั้นเลิศจากผึ้ง Edit

    Edit
    • Lynn Hinderliter CN, LDN
      ในบางครั้งในปีหนึ่งๆ เราอาจไม่ทราบว่าสภาพอากาศจะเปลี่ยนแปรไปอย่างไร แม้ในช่วงนาทีหนึ่งไปยังอีกนาทีหนึ่ง ดังนั้นเราจึงไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าในแต่ละนาที เราจะยังมีสุขภาพดีหรือจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น บางครั้งเราอาจต้องใส่เสื้อกันหนาว แต่บางครั้งเราก็ต้องถอดมันออก บางครั้งเรารู้สึกร้อนไป บางครั้งก็รู้สึกหนาวไป บางครั้งก็ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ บางครั้งก็ต้องเปิดเครื่องทำความร้อน จึงไม่น่าแปลกที่บางครั้งร่างกายของเราจะบอกเราว่า “พอแล้ว...ฉันไม่ไหวแล้ว”

      เด็กๆ ต่างก็เป็นคนใจกว้าง มักแบ่งปันสิ่งที่เรียกว่าเชื้อโรค และไม่เพียงแต่ในกลุ่มเด็กด้วยกันแต่ยังแบ่งปันให้พ่อแม่และผู้ปกครอง ส่วนเพื่อนร่วมงานของเราบางคนก็อาจจะทิ้งเชื้อโรคเอาไว้ในที่ทำงาน ขณะที่พวกเขากลับไปนอนป่วยอยู่ที่บ้าน หรือนำเอาเชื้อโรคกลับบ้านไปด้วย ก่อนจะรู้ตัวว่าพวกเขาได้ติดเชื้อหวัดเสียแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราจะปกป้องสุขภาพของเราตามวิธีการที่ถูกต้อง
      หากท่านลองเปรียบเทียบ สถานการณ์ดังกล่าว กับรังผึ้งที่เต็มไปด้วยตัวผึ้งที่สาละวนทำงานอยู่ตลอดเวลา กับคนเราที่ไม่สามารถจะทำความสะอาดสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสมาชิกมากมายขนาดนั้นได้ ตัวแปรสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนเป็นอย่างมากคือสารมหัศจรรย์ที่เรียกว่า “โพรโพลิส”
      สภาพแวดล้อมในรังผึ้งนั้น เหมาะสำหรับการเพาะพันธุ์ของบรรดาเหล่าเชื้อโรคชนิดต่างๆ เนื่องจากว่าในรังจะมีความอบอุ่น มีความชื้น และแออัด ก่อนที่ผึ้งจะถูกเลี้ยงเพาะพันธุ์โดยมนุษย์และทำรังอยู่ในป่า เมื่อใดก็ตามที่มีผู้บุกรุกรัง ผึ้งก็จะต่อยจนผู้บุกรุกนั้นตาย แต่ไม่สามารถที่จะกำจัดเอาซากนั้นออกไปจากรังได้ ดังนั้นผึ้งจึงใช้สารชนิดหนึ่งเรียกว่าโพรโพลิสเคลือบไว้ ขณะที่ซากนั้นยังคงไม่เน่าเปื่อยและอยู่ภายในรัง นอกจากนี้ผึ้งยังใช้โพรโพลิสในการผนึกช่องว่างในโครงสร้างรัง จึงเป็นที่มาของชื่อโพรโพลิสเดิมที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “ผู้ป้องกันเมือง”

    edit

  • โพรโพลิสเป็นสารปฏิชีวนะธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแผ่นเยื่อเมือกพิเศษ Edit

    Edit
    • ผมได้อ่านงานวิจัยหลายชิ้นที่เกี่ยวกับวิธีใช้ยาเมื่อป่วยเป็นโรค ตั้งแต่โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จนถึงโรคติดเชื้อไซนัส และพบสิ่งที่น่าสนใจ ปกติผมได้ใช้และได้บอกต่อให้ผู้อื่นใช้ โพรโพลิสเพื่อแก้พิษ แก้หวัดและไข้หวัดใหญ่ที่ แพร่กระจายเวลาที่มีสภาพอากาศแปรปรวน หรือเมื่อมีอาการเจ็บคอ หลอดลมอักเสบ โรคไข้หวัดใหญ่และโรคหวัดที่รุนแรงทั้งหมด ด้วยการรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้
      ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์โพรโพลิสจะมีชนิดที่เป็นของเหลวแบบสารละลายแอลกอฮอล์หรือแบบแคปซูล และยังมีอีกหลายสูตรที่ผลิตออกมาเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยเฉพาะเช่น ผสมเอ็คไคนาเซีย, วิตามินซี และ โกลเดนซีลและมีสารอาหารที่มีประโยชน์ชนิดอื่นผสมอยู่ด้วย

      ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าโพรโพลิสเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นสารเดี่ยว มีความโดดเด่น และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์จริง

      แหล่งอ้างอิงข้อมูลวิจัยที่เผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของ สังคมผึ้งบำบัดอเมริกัน:
      (http://www.apitherapy.org/determiningquality.html)

    edit

    • นับแต่ปี 1960 มีการพิสูจน์ทดลองหลายครั้งที่ยืนยันว่า โพรโพลิส เป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและป้องกันเชื้อราได้อย่างดี
      ผลการค้นพบในครั้งแรกได้รับการตีพิมพ์ โดย Lavie และคณะ ได้แสดงให้เห็นว่า สารฟลาโวนอยด์ อาไกลโคน เป็นตัวต้านเชื้อแบคทีเรียในโพรโพลิส สารกาแลกิน และไพโนเซ็มบริน (Villanueva et al, 1964; Villanueva et al, 1970
      มีงานวิจัยที่สนับสนุนผลการวิจัยข้างต้นในกลุ่มตัวอย่างโพรโพลิสจากแถบยุโรป ว่าโพรโพลิสยังมีสารฟีโนลิคส์ และสารอื่นคือ ไพโนแบนสคิน ไพโนแบนสคิน 3 โอ อซิเตท เบนซิล พี คูมาเรท คาเฟอิค และกรดเอสเทอ (Metzner et al, 1979.)
      นอกจากนี้ยังพบว่าในสารไพโนเซ็มบริน และส่วนผสมคาเฟเอท ในโพรโพลิส ยังมีสารป้องกันเชื้อราที่สำคัญเป็นอย่างดี (Metzner et al., 1979) กรดฟีโนลิก เช่น คาเฟอิค และ เฟรูลิค ยังพบว่าเป็นองค์ประกอบที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีงานวิจัยที่ไม่นานมานี้ พบว่าโพรโพลิสและสารประกอบซินนามิกและ ฟลาโวนอยด์ ในโพรโพลิส ยังสามารถ ปลดพลังงานเยื่อหุ้มเซลล์นิวเคลียสและ ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะการต่อต้านจุลินทรีย์ได้อีกด้วย (Mirzoeva et al., 1997)
      ผลการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับตัวอย่างโพรโพลิสในเขตร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศบราซิล ได้นำไปสู่การค้นพบสารต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ หนึ่งในนั้นเป็นสารฟีโนลิกส์และสารอนุพันธ์ แม้ว่าจะมีความแตกต่างจากโพรโพลิสในเขตยุโรปเป็นอย่างมาก สารอนุพันธ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือคาร์บอนพรินิเลทในกรดพี คูมาริค โดยที่กรด 3,5- ดีพรินิล พี คูมาริค เป็นหนึ่งในสารต้านเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญในโพรโพลิสบราซิล (Aga et al., 1994)
      ในโพรโพลิสจากหมู่เกาะคานารี่ พบว่ามีสารต้านเชื้อแบคทีเรียลิกแนนส์ฟูโรฟูแรน (Christov et al., 1999) และสารยับยั้งแบคทีเรียจากธรรมชาติที่ไม่ใช่ฟีนอลพบในพรอพอลิสบราซิลเช่นกัน เช่นกรด ไดเทอร์เพนิคซึ่งพบในโครงสร้างแลปเดนในโครงกระดูก (Bankova et al, 1996.) เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสารฟลาโวนอยด์ไม่ได้เป็นเพียงแค่สารต้านเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ในพรอพอลิสเท่านั้น
      ฤทธิ์การป้องกันเชื้อไวรัสยังเป็นคุณสมบัติที่สำคัญทางชีวภาพของโพรโพลิส เนื่องจากเราทราบดีว่าโพรโพลิสมีสารประกอบฟีนอลิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเอสเทอส์ของกรดคาเฟอิคและเฟรูลิค (3 – เมธิลบัท -2- อีนิล คาเฟเอท, 3- เมธิลบูทิล เฟรูเลท), ในกรดคาเฟอิค และฟลาโวนอยด์ไกลโคเจน เช่นลูตีโอลิน เกซินทิน (Amoros et al., 1992, Serkedjieva et al., 1992).
      จากผลการทดสอบล่าสุดเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านการอักเสบของโพรโพอลิสที่มีความสัมพันธ์กับการต้านสารอนุมูลอิสระในระดับที่ดีซึ่งส่วนใหญ่จะพบในสารฟีโนลิกส์จากธรรมชาติ ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มสารที่สามารถจับอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จากรายละเอียดการศึกษาเกี่ยวกับการจับอนุมูลอิสระของแต่ละองค์ประกอบในกรดคาเฟอิค ฟีนิทิลเอสเตอร์ร่วมกับกาแลนกินฟลาโวนอยด์, แคมฟีรอลและแคมฟีริด พบว่าเป็นส่วนประกอบในโพรโพลิส ที่ถูกใช้ในกระบวนการต้านการอักเสบซึ่งเราทราบดีอยู่ว่า โพรโพลิส มีประสิทธิภาพในการต้านภาวะการอักเสบได้เป็นอย่างดี (Krol et al., 1996). มีผลการศึกษาหลายชิ้น ระบุว่าสารฟีโนลิกส์ มีผลต่อการทำงานของระบบหลาย ๆ ระบบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบในร่างกายอีกด้วย
      ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามี สิ่งพิมพ์หลายฉบับได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลของโพรโพลิสต่อตับในกระบวนการการทดลองที่แตกต่างกัน Remirez et al. (1997) ชี้ให้เห็นว่าผลของโพรโพลิสดังกล่าวนี้ อาจเป็นเพราะการทำงานของสารในโพรโพลิสสกัดที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ส่วนกรดคาเฟอิค เฟรูลิค และเอสเทอร์สในโพรโพลิสยุโรป พบว่าเป็นส่วนประกอบในการป้องกันการออกซิเดชั่นหลัก ซึ่งกระบวนการ การทำงานของ ฟลาโวนอยด์อกลิโคนส์อยู่อยู่ในระดับที่ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ (Marinova et al., 1989). จากตัวอย่างโพรโพลิสของบราซิล ทั้งสารดิคาเฟโอลควินิคและอนุพันธ์จะแตกตัวเป็น กลุ่มสารบำรุงตับ คือ 3,4 – กรดดิคาเฟโอลควินิค และกรดเมทิล เอสเตอร์ (Basnet et al, 1996.)
      นักวิจัยชาวเยอรมันยังชี้ว่า สารสกัดแอลกอฮอล์ในโพรโพลิส ยังมีความสามารถในการบรรเทาความเจ็บปวด สารที่ว่านั้นเรียกว่า พิโนเซ็มบรินและสารผสมจากคาฟีเอทเอสเตอร์ส (Paintz & Metzner, 1979)
      กรดคาเฟอิคฟีนิทิลเอสเตอร์ (CAPE) เป็นสารป้องกันมะเร็งจากโพรโพลิสที่ได้รับความสนใจมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถต่อต้านมะเร็งได้ ซึ่งเป็นผลการศึกษาโพรโพลิสโดยวิธีทางชีวเคมี โดยกลุ่มวิจัยของโคจิ นากานิชิ (Grundberger et al., 1988) นอกจากนี้ยังพบว่า CAPE มีคุณสมบัติในการยับยั้งมะเร็งเต้านมในมนุษย์และการก่อตัวของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ส่วนเซลล์มะเร็งของมนุษย์พบว่ามีปฏิกิริยาเมื่อได้รับการกระตุ้นโดย CAPE มากกว่าเซลล์ปกติที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างมีนัยสำคัญว่า CAPE มีฤทธิ์ที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเป็นพิเศษ มากกว่าเซลล์ปกติทั่วไป
      นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้สารประกอบชนิดอื่นที่มีโครงสร้างที่คล้ายกันในพรอพอลิส ยังได้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน เช่น การใช้เมธิลคาเฟเอท และฟีนีทิล เอสเตอร์สของกรดไดมีทิลคาเฟอิค (Rao et al., 1992) โพรโพลิสบราซิลยังสามารถต่อต้านตัวนำสารก่อมะเร็งได้หลายวิธี เช่น สารอนุพันธ์คาร์บอนพรินิเลทจากกรดพีคูมาริค เช่น กรด 3,5-ดีพรินิล พี คูมาริค และโมเลกุลที่คล้ายกันที่แสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาไซโตท็อกซิค หรือการทดสอบความเป็นพิษในหลอดทดลองต่อเซลล์มะเร็งในมนุษย์ และในตัวอย่างหนูทดลองที่ได้รับการปลูกถ่ายสายพันธุ์เซลล์มะเร็งจากมนุษย์ (Kimoto et al., 1998)
      จากตัวอย่างโพรโพลิสบราซิล ยังพบว่ามีองค์ประกอบของสารอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีฤทธิ์สามารถต่อต้านเซลล์มะเร็งได้คือ กรดคลิโรเดน ไดเตอร์พีนิคซึ่งเป็นสารต่อต้านมะเร็งเซลล์ตับในมนุษย์ที่สำคัญ (Matsuno et al, 1997.) ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการศึกษากรณีดังกล่าวอย่างกว้างขวางโดยกลุ่มงานวิจัยหลายแห่งในประเทศญี่ปุ่น
      โพรโพลิสยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณสูง (เช่น ในเกสรผึ้ง) เป็นแหล่งสำคัญที่พบกรดอะมิโนกรด วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ และไม่มีผลเสียในการรับประทาน แม้ว่าจะมีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง หรือผู้แพ้เหล็กในจากการถูกผึ้งต่อย แต่ไม่ปรากฏว่ามีผลข้างเคียงใดๆจากการใช้โพรโพลิส
      ผมเองก็พกสเปรย์สมุนไพรผสมโพรโพลิสและใช้งานได้ทุกครั้งตามต้องการ เวลาที่รู้สึกคันในลำคอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเองทราบดีว่าเป็นสัญญาณเตือนของโรคไข้หวัด หรือโรคหวัดกำเริบ ดังนั้นถือว่าผมประสบความสำเร็จในการเตรียมพร้อมเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคและปัญหาจากการก่อตัวของเชื้อโรคได้ถึง 100% ถึงแม้ว่าจะต้องพกอาวุธที่จะต่อสู้กับเชื้อต่างๆอยู่ตลอดเวลาเช่น วิตามินซีแบบเข้มข้น โฮเมโอพาติกส์ สังกะสีและชาสมุนไพรก็ตาม!

    edit

Information

ปิดหน้าต่าง