• HEALTH REPORT Edit

    Edit
  • Edit
  • สร้างภูมิชีวิต พิชิตหวัดจากไวรัส Edit

    Edit
    • เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน มักจะเริ่มมีการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ๆ หลากหลายมากขึ้น หวัดเหล่านี้เกิดจากเชื้อไวรัสต่างๆสายพันธ์ เราควรจะดูแลป้องกันตัวเองและคนในครอบครัวอย่างไรเพื่อให้ห่างไกลจากโรคหวัดเหล่านี้ และ โพรโพลิสมีความสำคัญอย่างไรกับหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสเหล่านี้

    • นายแพทย์ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยาอธิบายว่า ไข้หวัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ไข้หวัดธรรมดา (Cold) และไข้หวัดใหญ่ (Influenza)ซึ่งทั้งสองชนิดมีเชื้อไวรัสตัวการก่อโรคแตกต่างกันไป สำหรับไข้หวัดธรรมดา ย่อมมีการระบาดเรื่อยๆตามฤดูกาลอยู่แล้ว โดยกลุ่มเสี่ยง คือกลุ่มเด็กเล็ก แต่สำหรับวัยผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ทุกคนจะมีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสตัวนี้อยู่แล้ว ส่วนไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ที่มีเชื้อ Influenza virus เป็นตัวก่อโรคก็เช่นกัน ยังคงมีการระบาดตามฤดูกาล และจากสถิติพบว่า คนทั่วไปประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ จะมีภูมิต้าน ทานเชื้อไวรัสตัวนี้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ อาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่มักเป็นอาการที่กว้าง และป่วยเป็นเวลานาน จนบางคนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ให้อาการหนักลงได้ขณะเดียวกันก็ไม่ควรประมาทไข้หวัดสายพันธุ์อื่นๆที่อาจกลับมาระบาดใหม่อีกครั้งพร้อมทั้งเตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ที่เกี่ยวกับโรคทาง เดินหายใจ ที่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อกันง่ายขึ้น (4) เช่น ไข้หวัดนก H5N1 หรือล่าสุดไข้หวัดเมอร์สซึ่งกำลังแพร่ระบาดอยู่ในช่วงนี้ (2)

    edit

  • Edit
  • Propolis คืออะไร และสามารถป้องกันการเกิดโรคไข้หวัด จากเชื้อไวรัสได้หรือไม่ Edit

    Edit
    • โพรโพลิสมีลักษณะเป็นยางเหนียว ที่ผึ้งเก็บสะสมสารหลั่งจาก สวนท ี่ เปนแผล ในสวนที่แตกออกของเปลือกไม สวนใบออน หรือ หน่อ โดยสารดังกลาวอาจเปนเรซิน(ยาง) หรือสารอื่น ๆ หลังจากที่ผึ้ง นําสวนท ี่ไดจากพืชมาแลว จะนำมาเคี้ยวเบาๆให้อ่อนตัว และนํามาผสมกับเอนไซมในน้ำลายผึ้งโดย อาจจะมีไขผึ้งและสวนประกอบอื่น ๆ ปนเขามาเล็กนอย ส่วนประกอบโดยประมาณของโพรโพลิส ที่นักวิทยาศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ออกมาจะประกอบไปด้วย ยางจากต้นไม้ 50% ไขผึ้ง 30% น้ำมันจากต้นไม้นั้นๆ 10% และ เกสรผึ้ง 5% สารประกอบอื่น 5% ผึ้งจะนำยางเหล่านี้เก็บสะสม ไว้ที่รังผึ้ง เพื่อใช้สำหรับซ่อมแซมรัง ทำความสะอาดรัง และฆ่าเชื้อในรัง ผึ้งนำยางที่ได้นี้ไว้สำหรับฆ่าเชื้อในรัง ก่อนที่จะวางไข่ขยายจำนวนประชากรเพื่อให้มีอัตตราการรอดชีวิตของตัวอ่อนให้เป็นผึ้งงานได้มากที่สุด หรือแม้กระทั่งเมื่อผึ้งได้ฆ่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เป็นศัตรูและตายอยู่ในรัง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายซากเหล่านั้นออกไปทิ้งได้ เพื่อป้องกันการเน่าเสียผึ้งจะใช้ยางนี้ห่อหุ้มซากนั้นไว้ไม่ให้เกิดการเน่าสลาย ป้องกันการเกิดโรคร้ายต่างๆในรังได้ จากประโยชน์ของ โพรโพริส หรือ ยางผึ้งที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบจึงได้นำสารสกัดโพรโพริสมาประยุกต์ใช้ในการดูแลบำรุงรักษาร่างกายเพื่อให้เกิดวามแข็งแรงและมีสุขภาพดี

    • จากการศึกษาวิจัยสามารถสรุปฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้ดังนี้ (1)
      1) ฤทธิ์ตานจุลชีพ (Antimicrobial activity) โพรโพลิสก็มีคุณสมบัติตานเชื้อ แบคทีเรีย รา โปรโตซัว และไวรัสไดดี
      2) ฤทธิ์ตานเนื้องอก (Antitumor activity) มีการคนพบว่าสารสําคัญจากโพรโพลิส นั่นก็คือ CAPE ซึ่งมีความเปนพิษตอเซลลมะเร็งหลายชนิด
      3) ฤทธิ์ตานออกซิเดชัน (Antioxidative activity) จากองคประกอบทางเคมีจะเห็นวาโพรโพลิสมีองคประกอบสวนใหญเปนสารกลุมฟลาโวนอยดและฟนอลิก สารกลุมดังกลาวมีฤทธิ์ตานออกซิเดชัน ที่แรง ดังนั้นโพรโพลิสยอมมีคุณสมบัติดังกลาวดวยเชนกัน
      4) ฤทธิ์ตานการอักเสบ (Anti-inflammatory activity) มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ตานการอักเสบของ พรอพอลิสอยางตอเนื่อง ทั้งแบบ in vitro และแบบ in vivo สารสกัดโพรโพริสด้วยเอททานอล มีสารสำคัญที่ได้คือ CAPE สามารถยับยั้งกระบวนการอักเสบและต้านการอักเสบได้ดี

    • อย่างไรก็ดีโพรโพลิสในแต่ละภูมิประเทศที่แตกต่างกันมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน เพราะต้นไม้ที่ผึ้งไปเก็บสารมานั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ดังนั้น เมื่อองค์ประกอบทางเคมีต่างกัน ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาก็จะแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบทางเคมีนั้นๆด้วย (1) เช่น โพรโพลิส จากประเทศบราซิลจะมีคุณสมบัติพิเศษคือจะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ในการต้านจุลชีพ Antimicrobial ฤทธิ์ต้านเนื้องอก Antitumor และ ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่น Antioxidative ได้มากกว่า โพรโพลิส จากประเทศแถบเอเชียและยุโรป มีข้อมูลสนับสนุนจากงานวิจัยต่างๆรวมถึงคำแนะนำจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และ เภสัชกรรม จากสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ได้ระบุเกี่ยวกับ โพรโพลิสว่าสามารถป้องกันและบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคไข้หวัด จากเชื้อไวรัสบางประเภทได้ อีกทั้งสามารถลดอาการอักเสบของลำคอได้

    • Dr. Siriwan Aticomkulchai Faculty of pharmacology / Srinakharinwirot University : Thai Pharm Health Sci 2008 ได้กล่าวไว้ว่า โพรโพลิส มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ (Antimicrobial activity) คุณสมบัติต้าน เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว และไวรัส ซึ่งตัวอย่างสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ ได้แก่ cupressic acid, acetylcupressic acid , imbricatoloic acid , communicacid เป็นต้น ซึ่งสารข้างต้นเป็นสารในกลุ่ม labdane-type diterpenes ส่วนสาร syringaldehyde เป็นสารประกอบ ฟีนอลิก ซึ่งสารทั้งหมดแยกได้จากโพรโพลิสของประเทศบราซิล สารเหล่านี้ มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งก่อให้เกิดโรคอักเสบเจ็บคอ ในปี ค.ศ. 1997 ได้มีการค้นพบว่าสารสกัดจากโพรโพลิสสามารถยับยั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus) และ ไวรัสไข้หวัดนก (avian influenza virus)27 ในการทดลองแบบ in vitro อีกทั้งในปี ค.ศ. 1996 ได้มีการนำสารสกัดเอทานอลและสารสำคัญจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรโพลิสได้แก่CAPE , caffeic acid , quercetin และ naringenin มาทดสอบฤทธิ์ต้านการ อักเสบ โดยดูจากเมแทบอลิซึมของ arachidonic acid พบว่าสารสกัดเอทานอลของโพรโพลิสสามารถยับยั้ง เมแทบอลิซึมของ arachidonic acid ในวิธี lipoxygenase ระหว่างกระบวนการอักเสบได้ ส่วนสารสำคัญนั้น พบว่า CAPE ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารอื่นที่นำมาทดลอง

    • ในช่วงหน้าฝนที่มีการแพร่ระบาดของหวัดสายพันธ์ต่างๆ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้iร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทานอาหารที่หลากหลาย ครบหมู่ เน้น วิตมิน เกลือแร่ และ สารอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายและพักผ่อนเพียงพอ สามารถช่วยให้เราห่างไกลจากโรคหวัดได้ บางคนอาจจะคิดว่าเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง เราก็มีโอกาสเป็นหวัดได้เป็นธรรมดา แต่ถ้าเราแข็งแรงเต็มร้อยแล้ว ไม่ว่าอากาศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร หวัดก็ไม่สามารถทำให้เราล้มหมอนนอนเสื่อกันได้ง่าย ๆ เราควรมาดูแลสุขภาพต้านหวัดกันดีกว่า

    • ที่มา
      1. Dr. Siriwan Aticomkulchai Faculty of pharmacology/ Major of phamachemical / Srinakharinwirot University; www.ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/viewFile/2823/2837
      2. Chivajit Magazine No: 264
      3. Dr. Peter Ou obtained (Ph.D.) in clinical pharmacology and toxicology from University College London UK www.drnutrition360.com/articles/brazilian-bee-propolis

    edit

Information

ปิดหน้าต่าง